วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กติกาแบดมินตัน

กติกาแบดมินตัน



กติกาเบื้องต้น

   1. การออกนอกเส้น มีการกำหนดเส้นออกแต่งต่างกันในกรณีเล่นเดี่ยวและเล่นคู่
   2. การเสิร์ฟลูก ตามกติกา ที่ถูกต้อง คือ
         1. หัวไม้ขณะสัมผัสลูกต้องต่ำกว่าข้อมืออย่างเห็นได้ชัด
         2. หัวไม้ขณะสัมผัสลูกต้องต่ำกว่าเอวอย่างเห็นได้ชัด
         3. ผู้เล่นต้องไม่ถ่วงเวลา หรือเสริฟช้า หรือเสริฟ 2 จังหวะ การเสริฟ ต้องเสริฟไปด้วยจังหวะเดียว
         4. ขณะเสิร์ฟ ส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าทั้ง 2 ข้างต้องสัมผัสพื้นตลอดเวลา
         5. การเสิร์ฟลูกที่ถูกต้อง ต้องให้แร็กเก็ตสัมผัสกับหัวลูกก่อน หากโดนขนก่อนถือว่าผิดกติกา
   3. ขณะตีลูกโต้กัน ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายหรือไม้แบดไปสัมผัสกับเน็ท
   4. ห้ามตีลูกที่ฝั่งตรงข้ามโต้กลับมาในขณะที่ลูกยังไม่ข้ามเน็ทมายังแดนเรา(Over net)

สหพันธ์แบดมินตันนานาชาติ ( IBF) ได้กำหนดให้ ทดลองใช้ระบบการนับคะแนนการแข่งขันกีฬาแบดมินตันใหม่ ในระบบ 3 x 21 คะแนน ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2549 เป็นต้นไป

รายละเอียดของกติกาการนับคะแนนมีดังนี้
1. แมทช์หนึ่งต้องชนะให้ได้มากที่สุดใน 3 เกม
2. ทุกประเภทของการแข่งขัน  ฝ่ายที่ได้ 21 คะแนนก่อนเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ยกเว้นเมื่อได้ 20 คะแนนเท่ากันต้องนับต่อให้มีคะแนนห่างกัน 2 คะแนน ฝ่ายใดได้คะแนนนำ 2 คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ  แต่ไม่เกิน 30 คะแนน หมายความว่าหากการเล่นดำเนินมาจนถึง 29 คะแนนเท่ากัน  ฝ่ายใดได้ 30 คะแนนก่อน เป็นผู้ชนะ
3. ฝ่ายชนะเป็นฝ่ายส่งลูกต่อในเกมต่อไป
4. ฝ่ายชนะการเสี่ยงสิทธิ์เป็นฝ่ายส่งลูกได้ก่อน  หากฝ่ายตรงข้ามทำลูก "เสีย" หรือลูกไม่ได้อยู่ในการเล่น  ผู้เลือกส่งลูกก่อนจะได้คะแนนนำ 1-0 และได้ส่งลูกต่อ  แต่หากผู้ส่งลูกทำลูก "เสีย" หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น  ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนตามมาทันทีเป็น 1-1 และฝ่ายตรงข้ามจะได้สิทธิ์ส่งลูกแทน  ดำเนินเช่นนี้ต่อไปจนจบเกม
5. ประเภทคู่ให้ส่งลูกฝ่ายละ 1 ครั้ง ตามคะแนนที่ได้  ขณะที่เปลี่ยนฝ่ายส่งลูก หากคะแนนเป็นจำนวนคี่ ผู้อยู่คอร์ดด้านซ้ายเป็นผู้ส่งลูก  หากคะแนนเป็นจำนวนคู่ผู้อยู่คอร์ดด้านขวาเป็นฝ่ายส่งลูก

หมายเหตุ  ศึกษากติกาโดยละเอียดได้ที่เว็บไซต์ สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
การดิวส์

หากผู้เล่นทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้เท่ากันในคะแนนที่ 20 จะมีการเล่นต่อ จนกว่าว่าจะมีคะแนนมากกว่าฝ่ายตรงข้าม 2 คะแนน แต่ถ้ายังไม่สามารถทำคะแนนห่างกัน 2 แต้มได้ จะเล่นต่อไปเรื่อยๆ แต่ เมื่อแต้มได้ 29 เท่ากัน ใครที่ทำได้แต้ม 30 ก่อนจะเป็นฝ่ายชนะ

มารยาทการเล่น

มารยาทผู้เล่น

1. ผู้แข่งขันต้องตระหนักอยู่เสมอว่าผู้เข้าแข่งขันเป็นนักกีฬาสมัครเล่น ซึ่งต้องมีน้ำใจเป็นนักกีฬาอยู่เสมอ และพร้อมที่จะให้อภัยแกความผิดพลาดทุกโอกาส โดยไม่คำนึงถึงผลแพ้ชนะเป็นสำคัญจนเกินไป

2. ผู้เข้าแข่งขันแต่งกายด้วยชุดกีฬาสีขาว สะอาด เรียบร้อย

3. ยิ้มแย้มแจ่มใสต่อคู่แข่งขันแสดงออกถึงมิตรภาพความสุภาพ อ่อนโยนด้วยการสัมผัสมือ หรือเปิดโอกาสให้คู่แข่งขันได้วอร์ม รวมทั้งไม่เอาเปรียบคู่ต่อสู้หรือคู่แข่งขันในการเสี่ยง ให้โอกาสคู่ต่อสู้เป็นผู้นำการเลือกเสี่ยงก่อน

4. ไม่แสดงกริยาที่ไม่ดีเมื่อทำเสียเอง ด้วยท่าทางหรือคำพูด รวมทั้งการกล่าวตำหนิผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน

5. ใช้คำพูดที่สุภาพในการแข่งขัน

6. การถามข้อสงสัย หรือถามคะแนนต่อผู้ตัดสินในระหว่างการแข่งขันควรจะใช้ถ้อยคำที่สุภาพ

7. การอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้ตัดสิน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้แข่งขันควรจะใช้ถ้อยคำที่ระมัดระวัง และเมื่อได้ทำการอุทธรณ์แล้ว ผู้อุทธรณ์ต้องอยู่ในความสงบ และพร้อมที่จะทำการแข่งขันต่อไปได้ และเมื่อผู้ตัดสินชี้ขาดอย่างไรก็ต้องปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ

8. เมื่อขณะดำเนินการแข่งขันอยู่หากจะหยุดพัก เช่น ขอเช็ดเหงื่อ ดื่มน้ำ เปลี่ยนแร็กเกต เปลี่ยนรองเท้าถุงเท้า ฯลฯ ต้องขออนุญาตผู้ตัดสินทุกครั้ง เมื่อได้รับอนุญาติแล้วจึงปฏิบัติได้

9. ในการส่งลูกเสียไปให้คู่ต่อสู้จะต้องส่งลูกข้ามตาข่ายไปให้เสมอ การส่งลูกลอดใต้ตาข่ายไปให้คู่ต่อสู้ถือว่าเป็นการเสียมารยาทอย่างรุนแรง

10. ในระหว่างการแข่งขัน ถ้าผู้ตัดสินทำหน้าที่ผิดพลาดแต่เราอยู่ในฐานะได้เปรียบไม่ควรใช้ความได้เปรียบนั้นเป็นประโยชน์

11. การตีลูกเสีย นักกีฬาที่ดีต้องร้องออกมาดัง ๆ ว่า "เสีย" โดยไม่ต้องรอให้ผู้ตัดสินร้องออกมาก่อน แต่ถ้าผู้ตัดสินดูไม่ทัน ผู้ตีลูกเสียไม่ควรจะฉวยโอกาสเล่นต่อไปด้วย เพราะการฉวยโอกาสเช่นนี้เป็นการกระทำที่ไม่สุจริต

12. เมื่อการแข่งขันเสร็จสิ้นลง ถ้าเราเป็นฝ่ายชนะจะต้องไม่แสดงความดีใจจนเกินควร ต้องเข้าไปจับมือคู่แข่งขันทันทีพร้อมแสดงความเสียใจ ถ้าเป็นฝ่ายแพ้ไม่ควรจะแสดงอารมณ์ฉุนเฉียวต้องควบคุมอารมณ์ และรีบไปแสดงความยินดีกับคู่แข่งโดยทันทีเหมือนกัน

13. ยอมรับและเชื่อฟังการตัดสินโดยไม่โต้แย้ง และเมื่อเสร็จสิ้นการแข่งขันควรแสดงความเคารพผู้ตัดสิ้น

14. ในสนามที่มีผู้มารอเล่นอยู่มาก และไม่ใช่การแข่งขัน ไม่ควรเล่นกันนานจนเกินไป ควรเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้เล่นบ้าง

มารยาทผู้ชม

1. แต่งกายให้สุภาพ เรียบร้อย เป็นการให้เกียรติแก่การแข่งขันนั้น ๆ

2. ให้เกียรติแก่นักกีฬาทั้ง 2 ฝ่าย ด้วยการปรบมือเมื่อมีการแนะนำคู่แข่งขัน

3. ไม่กล่าววาจาไม่สุภาพ และไม่เชียร์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจนไม่น่าดู

4. ขณะการแข่งขันยังดำเนินอยู่ไม่ควรรบกวนสมาธิของผู้แข่ง หรือผู้ชมด้วยกัน

5. การนิ่งเงียบ ในขณะที่นักกีฬากำลังเล่นถือว่าเป็นมารยาทของผู้ชมที่ดี

6. ควรปรบมือเมื่อผู้เล่นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเล่นได้ดี สวยงาม และกระทำเมื่อลูกไม่ได้อยู่ในการเล่น

7. ไม่แสดงออกด้วยกิริยา หรือวิพากษ์วิจารณ์การตัดสินของกรรมการ ขณะทำการแข่งขัน แม้ว่าจะมีข้อผิดพลาด

8. เมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลง ควรปรบมือเป็นเกียรติแก่นักกีฬาทั้งสองฝ่าย

มารยาท ผู้ตัดสิน

1. เมื่อเข้าสู่สนามแข่งขัน ต้องแต่งกายให้ถูกต้องตามลักษณะของการเป็นผู้ตัดสิน เครื่องแต่งกายต้องประณีต และสะอาด วางตัวในลักษณะสุภาพอ่อนน้อม แต่สำรวมไม่หลอกล้อกับผู้หนึ่งผู้ใด แสดงออกถึงอาการที่จะให้ความร่วมมือกับผู้อื่นด้วยท่าทีกระฉับกระเฉง ไม่ใช่ประหม่าหรือลุกลี้ลุกลน

2. ระหว่างการแข่งขัน หลีกเลี่ยงการพบปะสนทนากับผู้เล่น ผู้ฝึกสอน ตลอดจนผู้คุ้นเคยอื่น ๆ พยายามตั้งใจจริงในการปฏิบัติหน้าที่ในการตัดสิน ตัดสินใจด้วยความเด็ดขาดถูกต้อง แสดงออกถึงความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ไม่แสดงอารมณ์ออกมา ควรใช้วาจาเฉพาะในสิ่งที่จำเป็นพูดเฉพาะหลักการเท่านั้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ฟัง และไม่ควรโต้เถียงกับผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งจะเป็นการลดฐานะของตนเอง อันเป็นการทำให้เสื่อมศักดิ์ศรี และเป็นการนำไปสู่การทะเลาะวิวาทหรือทำให้เกิดคับข้องขุ่นเคืองใจได้

3. เมื่อจบการแข่งขัน หลังจากตรวจใบนับคะแนนเรียบร้อยแล้ว ควรรีบออกจากสนามแข่งขันทันที ไม่ควรรีรออยู่เพื่อขออภัยในความผิดพลาดในการตัดสิน หรือเพื่อแสดงความยินดีหรือเสียใจต่อคู่แข่ง ไม่ควรแสดงความคิดเห็นใด ๆ เกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่มีการถกเถียงกัน ในกรณีที่มีผู้สื่อข่าวขอสัมภาษณ์ ควรให้ความร่วมมือด้วยอัธยาศัยอันดี โดยชี้แจงอย่างเป็นธรรมและเหมาะสมในขอบเขตของการเป็นผู้ตัดสิน แต่ไม่ควรแสดงความคิดเห็นที่ซ้ำเติม หรือก้าวก่ายหน้าที่ของผู้อื่น

ที่มา จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี   Boonyadit

ประวัติแบดมินตัน












กีฬาแบดมินตันมีความเป็นมาไม่ชัดเจนนัก ซึ่งจากหลักฐานต่างๆ จะสามารถบ่งบอกที่มาของกีฬาประเภทนี้ไว้ที่หลายยุค เช่น
  • ในจีนช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7 มีภาพวาดเก่าๆ ซึ่งบ่งบอกว่ามีการใช้ขนไก่มาทำเป็นลูกขนไก่ใช้ในการเล่น ซึ่งตอนนั้นจะใช้เท้าเตะกัน 2 คนหรือจะตั้งวงกัน 3-4 คน
  • คริสต์ศตวรรษที่ 13 ชาวอินเดียแดงในอเมริกาตอนใต้ ใช้ขนนกหรือขนไก่พูกติดกับลูกกลมโดยลูกบอลกลมนั้นใช้หญ้าฟางพันขมวดเข้าด้วยกัน และให้ขนไก่ชี้ไปทางเดียวกันและเวลาเล่นใช้มือจับลูกขนไก่นั้นปาใส่ผู้เล่นคนอื่น
  • คริสต์ศตวรรษที่ 14 ชาวญี่ปุ่นได้มีการใช้ขนไก่ หรือขนนกเสียบผูกติดกับหัวไม้ และใช้ไม้ตีลูกขนไก่นั้น โดยไม้ที่ใช้ตีทำมาจากไม้กระดาน ตีลูกขนไก่ไปมา
  • ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในแถบยุโรปมีการเขียนภาพสีน้ำมันถึงการเล่นกีฬาแบดมินตันในราชสำนักต่าง ๆ
    • พระราชินีคริสตินาแห่งสวีเดนทรงจำลองไม้แบดมินตันมาจากแร็กเกตในกีฬาเทนนิส และใช้ขนไก่หรือขนนกเสียบติดกับหัวไม้ก๊อก
    • เจ้าฟ้าชายเฟรดเดอริค มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก ทรงแบดมินตันในลักษณะเดียวกัน แต่ในตอนนั้นเรียกแบดมินตันว่า "แบทเทิลดอร์กับลูกขนไก่"
  • คริสต์ศตวรรษที่ 18 ในเยอรมนีกษัตริย์ของปรัสเซียเฟรดเดอริคมหาราช และพระเจ้าหลานเธอเฟรดเดอริค วิลเลียมที่สอง ทรงแบดมินตันในลักษณะเดียวกัน และในประเทศอังกฤษมีเรื่องเล่าว่าในปี ค.ศ. 1870 นายทหารคนหนึ่งที่ไปประจำการอยู่ในเมืองปูนา ประเทศอินเดียได้เห็นกีฬาตีลูกขนไก่จึงนำกลับไปเล่นในอังกฤษ และในอังกฤษ ณ คฤหาสน์ “แบดมินตัน” ของดยุคแห่งบิวฟอร์ด ที่ตำบลกล๊อสเตอร์เชอร์ ในปี ค.ศ. 1873 เกมกีฬาตีลูกขนไก่จึงถูกเรียกว่า “แบดมินตัน” ตามชื่อของสถานที่นับตั้งแต่นั้นม
ที่มา   www.sport-za.com/article/ประวัติแบดมินตัน-258-0-0.html